วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

 บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16
วิชา การจัดประสบการศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
(กลุ่มเรียน 104)    
 เวลาเรียน วันอังคาร เวลา 15:0017:30.  
  วันพฤหัสบดี  เวลา 15:00  16:40 .



ความรู้ที่ได้รับ
วัน อังคาร ที่ 30 เดือน เมษายน  พ.. 2558

           วันนี้เป็นการเรียนการสอนสัปดาห์สุดท้ายและเป็นวันที่จัดนิทัศการศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการนำผลงานศิลปะสร้างสรรค์ทุกชิ้นตั้งแต่ที่เรียนมานำมาจัดนิทัศการโดยที่อาจารย์จะให้นักศึกษาออกแบบนิทัศการด้วยตนเองทุกคนในห้องก็ต่างช่วยกันจัดอย่างตั้งใจและดิฉันก็ได้รับหน้าที่ในการผูกผ้าเพื่อตกแต่งในงาน

            เมื่อจัดเสร็จแล้วนิทัศการศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยของห้องดิฉันก็มีความสำเสร็จออกมา ดังนี้



ภาพรวมขณะเตรียมงาน













          เมื่อจัดเสร็จอาจารย์ก็ได้ให้ความรู้ในการจัดนิทัศการเพิ่มเติมในสิ่งที่น่าจะเพิ่มเต็มจากนั้นก็เป็นการนำเสนอชิ้นงานที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ก่อนการจัดนิทัศการ คือ ประดิษฐ์อะไรก็ได้ที่ดูจากรายการสอนศิลป์ และ ชิ้นงานของดิฉันก็ คือ หมวกกันแดดเต่าทอง

ผลงาน



            จากนั้นก็เป็นการรวมคะแนนที่ได้เรียนมาว่าใครได้คะแนนแยะสุดและให้จับฉลาก 15คนที่มีคะแนนเก็บแยะสุดในห้องเพื่อจับฉลากของขวัญพิเศษจากอาจารย์ และดิฉันก็เป็นหนึ่งในนั้นซึ่งจับฉลากได้ปากาแดง



 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเอาเทคนิคในการจัดนิทัศการครั้งนี้ไปใช้ได้ในอนาคต
- สามารถนำเอาความรู้จากที่ได้ทำชิ้นงานแต่ละชิ้นนั้นไปสอนเด็กได้ในอนาคต
-ได้รู้แนวทางในการจัดโต๊ะที่จะใช้โชว์ผลงานของเด็กๆนั้นเราสามารถใช้บริเวณห้องเรียนห้องเรานั้นแทนโต๊ะได้
- สามารถนำข้อผิดพลาดต่างๆที่ครูแนะนำนั้นสามารถนำไปปรับใช้ในอนาคตได้

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนสายเพราะมัวแต่เตรียมของที่จะเอามาโชว์ที่งานเลยทำให้มาสาย แต่งกายสุภาพเรียบร้อยตั้งใจจัดนิทัศการช่วยเพื่อนเป็นอย่างมาก
 เพื่อน  = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาเรียบร้อย มีความตั้งใจในการจัดนิทัศการช่วยกันเป็นอย่างดดีและทำออกมาได้น่าพอใจเป็นอย่างมาก
 อาจารย์ = อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อยให้คำแนะนำในการจัดนิทัศการในครั้งนี้เป็นอย่างดีและยังมีของรางวัลมาให้นักศึกษาในวันสุดท้ายของการเรียนการสอนอีกด้วยน่ารักมากๆค่ะ






บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15
วิชา การจัดประสบการศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
(กลุ่มเรียน 104)    
 เวลาเรียน วันอังคาร เวลา 15:0017:30.  
  วันพฤหัสบดี  เวลา 15:00  16:40 .



ความรู้ที่ได้รับ

วัน อังคาร ที่ 21 เดือน เมษายน  พ.. 2558

             การเรียนการสอนในวันนี้เป็นการทดลองสอนศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัยโดยการสอนเป็นกลุ่มกลุ่มละ 6 คนจากนั้นก็ได้เริ่มการสอนจากกลุ่มแรกมีหน่วยการเรียนรู้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 นำเสนอแผนการสอนใน หน่วยกล้วย
กิจกรรมพื้นฐาน  >> 1. วาดภาพด้วยสีเทียน 
           2. เป่าสี
             3. ตัดปะ
กิจกรรมพิเศษ  >>    4. ขยำกระดาษรูปกล้วย

ภาพประกอบการทำกิจกรรม




กลุ่มที่ 2 นำเสนอแผนการสอนใน หน่วยปลา
กิจกรรมพื้นฐาน  >> 1. ปั้นดินน้ำมัน
                                                 2. วาดภาพด้วยสีน้ำ
                                                      3. วาดภาพด้วยสีเทียน
          กิจกรรมพิเศษ  >>    4. เปเปอร์มาเช่รูปปลา

ภาพประกอบการทำกิจกรรม




ภาพผลงาน

กลุ่มที่ 3 นำเสนอแผนการสอนใน หน่วยนก
กิจกรรมพื้นฐาน  >>1. ปั้นดินน้ำมัน
                           2. ตัดปะ
                                                      3. วาดภาพด้วยสีเทียน 
                         กิจกรรมพิเศษ >> 4. ประดิษฐ์นกจากถุงกระดาษ

ภาพประกอบการทำกิจกรรม




กลุ่มที่ 4 นำเสนอแผนการสอนใน หน่วยผลไม้
        กิจกรรมพื้นฐาน >>  1. วาดภาพอิสระด้วยสีไม้
                   2. ตัดปะ
                   3. ฉีกปะ
 กิจกรรมพิเศษ >> 4. โมบายรูปผลไม้

ภาพประกอบการทำกิจกรรม





กลุ่มที่ 5  นำเสนอแผนการสอนใน หน่วยดอกไม้ 
กิจกรรมพื้นฐาน  >> 1. วาดภาพด้วยสีเทียน 
                                   2. วาดภาพด้วยสีน้ำ
                            3. ปั้นดินน้ำมัน
        กิจกรรมพิเศษ >>  4. ขยำกระดาษรูปดอกไม้

ภาพประกอบการทำกิจกรรม



         ในการสอนศิลปะให้กับเด็กปมวัย ขั้นแรกคือ ครูต้องเก็บเด็กให้อยู่ในความสงบ จากนั้นแนะนำกิจกรรมที่จัดทำในวันนี้ สิ่งสำคัญในการแนะนำกิจกรรมคือ ครูต้องแนะนำกิจกรรมพิเศษให้เด็กฟังอย่างละเอียด พร้อมบอกวิธีการทำ ขั้นที่สอง ให้เด็กลงมือทำกิจกรรมต่างๆตามโต๊ะที่ครูจัดไว้ โดยครูต้องคอยดูแลอย่างใกล้ชิดและเดินดูเด็กให้ครบทุกโต๊ะ ขั้นที่สาม  เมื่อเด็กทำกิจกรรมครอบหมดแล้ว ครูให้เด็กช่วยกันเก็บของ ทำความสะอาด 


 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
สามารถนำเอาเทคนิคการสอนที่เพื่อนสอนไปปรับประยุกต์ใช้กับเด็กได้ เช่น การคอยอำนวยความสะดวกให้กับเด็กๆในขณะที่เด็กทำกิจกรรมและให้ความสนใจกับเด็กทุกๆคนเท่าเทียมกัน
สามารถนำเอาความรู้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ไปใช้ให้ถูกในแต่ละขั้นตอนและให้สอดคล้องกับกิจกรรมที่สอน
     - สามารถนำไปแก้ไขข้อบกพร่องหรือจุดด้อยของเราและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้น

การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีความพร้อมในการเป็นตัวแทนในการทดสอบสอนเป็นอย่างมากและคิดว่าทำออกมาได้ดีพอสมควร
 เพื่อน = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาเรียบร้อย มีความตั้งใจในการทดสอบสอนกันทุกกลุ่ม
 อาจารย์ = อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อยให้คำแนะนำและให้ข้อเสนอแนะกับทุกกลุ่มเป็นอย่างดี







วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558


บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14
วิชา การจัดประสบการศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์กฤตธ์ตฤณน์  ตุ๊หมาด
(กลุ่มเรียน 104)    
 เวลาเรียน วันอังคาร เวลา 15:0017:30.  
  วันพฤหัสบดี  เวลา 15:00  16:40 .



ความรู้ที่ได้รับ
วัน อังคาร ที่ 7 เดือน เมษายน  พ.. 2558


                    วันนี้เป็นการนำเสนอแผนการสอนที่อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำในสัปดาห์ที่แล้วและดิฉันได้เขียนแผนการสอนการจัดประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยออกมาได้ ดังนี้


ชื่อหน่วย    เต่าน้อยน่ารัก        ชั้นอนุบาลปีที่      2              กิจกรรม สร้างสรรค์


วัน
กิจกรรม


จันทร์
1. กิจกรรมฝนภาพด้วยสีเทียน
2. กิจกรรมฉีกปะกระดาษ
3. กิจกรรมวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4.  กิจกรรมพิมพ์ภาพจากวัสดุที่หาง่าย  (กิจกรรมพิเศษ)


อังคาร
1. กิจกรรมฝนภาพด้วยสีเทียน
2. กิจกรรมฉีกปะกระดาษ
3. กิจกรรมวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4.  กิจกรรมการเพ้นท์ก้อนหิน  (กิจกรรมพิเศษ)


พุธ
1. กิจกรรมฝนภาพด้วยสีเทียน
2. กิจกรรมฉีกปะกระดาษ
3. กิจกรรมวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4.  กิจกรรมเตาน้อยจากจานกระดาษ  (กิจกรรมพิเศษ)


พฤหัสบดี
1. กิจกรรมฝนภาพด้วยสีเทียน
2. กิจกรรมฉีกปะกระดาษ
3. กิจกรรมวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4.  กิจกรรมโมบายเต่าน้อย  (กิจกรรมพิเศษ)


ศุกร์
1. กิจกรรมฝนภาพด้วยสีเทียน
2. กิจกรรมฉีกปะกระดาษ
3. กิจกรรมวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4.  กิจกรรมลูกชุบพาเพลิน  (กิจกรรมพิเศษ)




แผนการจัดประสบการณ์    ชั้น  อนุบาลปีที่      2              กิจกรรม    สร้างสรรค์
วัตถุประสงค์
สาระการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การวัดและประเมินผล
การบูรณาการ
สาระที่ควรเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
1. เพื่อพัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
2. เกิดความเพลิดเพลิน ชื่นชมสิ่งสวยงาม
3. ส่งเสริมการแสดงออกและความมั่นใจในตนเอง
4. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5. พัฒนาภาษา อธิบายผลงานของตนเองได้
6. สามารถทำลูกชุบได้
1. ฝนภาพด้วยสีเทียน
2. ฉีกปะกระดาษ
3. วาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4. ลูกชุบพาเพลิน (กิจกรรมพิเศษ)
ด้านร่างกาย
1. การเขียนภาพและเล่นกับสี
2. การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
3. การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
ด้านสังคม
4. การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
5. การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
6.การรู้จักสิ่งต่างๆด้วยการมอง ฟัง สัมผัส ชิมรส และดมกลิ่น
7. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงาน

ขั้นนำ
1. จัดโต๊ะทำกิจกรรมออกเป็น 6 กลุ่ม โดยกำหนดให้เป็นโต๊ะฝนภาพด้วยสีเทียน 2 กลุ่ม โต๊ะฉีกปะกระดาษ 1 กลุ่ม โต๊ะวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ 1 กลุ่ม และโต๊ะลูกชุบพาเพลิน 2 กลุ่ม (กิจกรรมพิเศษ)
2. แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กๆ ฟัง
ขั้นสอน
3. อธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งสาธิตการทำกิจกรรมลูกชุบพาเพลิน โดยการนำถั่วที่พร้อมปั้นมาปั้นเป็นรูปเ่าเสร็แล้วใช้สีผสมอาหารทาให้สวยงามแล้วนำไปชุบกับวุ้นที่้มไว้แล้ว
 4. ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดให้ ตามความสนใจ เมื่อทำเสร็จแล้ว นำผลงานมาส่งพร้อมบอก อธิบายผลงานให้ครูฟัง แล้วนำผลงานไปเก็บในที่เก็บผลงาน
5. ให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมต่างๆ จนครบทุกกิจกรรม
ขั้นสรุป
6. เด็กชิมลูกชุบที่นเองทำและบอกถงรสชาิของลูกชุบที่ได้ชิมไป
7. ช่วยกันเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมเข้าที่ให้เรียบร้อย
1. กระดาษเอ 4
2. สีเทียน
3. ใบไม้
4. กระดาษสี
5. กาว
6. สีน้ำ
7. ถั่วเหลือง้มสุกพร้อมปั้น
8. สีผสมอาหาร
9. ผ้าคลุมโต๊ะ
10. ผงวุ้น,น้ำ
1. การใช้กล้ามเนื้อมือและตา
2. การปฏิบัติกิจกรรม
3. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. การอธิบายชื่อผลงาน อธิบายรสชา
5. การเก็บของเข้าที่เมื่อเลิกใช้งาน
6. การทำลูกชุบ
วิทยาสาสตร์


การสะท้อนตนเองหลังการสอน
..................................................................................................................................................



แผนการจัดประสบการณ์    ชั้น  อนุบาลปีที่      2              กิจกรรม    สร้างสรรค์
วัตถุประสงค์
สาระการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้
สื่อ/แหล่งเรียนรู้
การวัดและประเมินผล
การบูรณาการ
สาระที่ควรเรียนรู้
ประสบการณ์สำคัญ
1. พัฒนาการประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อมือและตา
2. เกิดความเพลิดเพลิน ชื่นชมสิ่งสวยงาม
3. ส่งเสริมการแสดงออกและความมั่นใจในตนเอง
4. พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
5. สามารถประดิษฐ์เตาน้อยจากจานกระดาษ ได้
1. ฝนภาพด้วยสีเทียน
2. ฉีกปะกระดาษ
3. วาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ
4. กิจกรรมเตาน้อยจากจานกระดาษ  (กิจกรรมพิเศษ)
ด้านร่างกาย
1. การเขียนภาพและเล่นกับสี
2. การปั้นและประดิษฐ์สิ่งต่างๆ
ด้านอารมณ์-จิตใจ
3. การชื่นชมและสร้างสรรค์สิ่งสวยงาม
ด้านสังคม
4. การวางแผน ตัดสินใจเลือก และลงมือปฏิบัติ
5. การมีโอกาสได้รับรู้ความรู้สึก ความสนใจและความต้องการของตนเองและผู้อื่น
ด้านสติปัญญา
6. การรับรู้และแสดงความรู้สึกผ่านสื่อ วัสดุ ของเล่นและผลงาน
7. การแสดงความคิดสร้างสรรค์ผ่านสื่อวัสดุ ต่างๆ

ขั้นนำ
1. จัดโต๊ะทำกิจกรรมออกเป็น 6 กลุ่ม โดยกำหนดให้เป็นโต๊ะฝนภาพด้วยสีเทียน 2 กลุ่ม โต๊ะฉีกปะกระดาษ 1 กลุ่ม โต๊ะวาดภาพอิสระด้วยสีน้ำ 1 กลุ่ม และโต๊ะเตาน้อยจากจานกระดาษ  2 กลุ่ม (กิจกรรมพิเศษ)
2. แนะนำวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมต่างๆ ให้เด็กๆ ฟัง
ขั้นสอน
3. อธิบายกิจกรรมพร้อมทั้งสาธิตการทำกิจกรรมเตาน้อยจากจานกระดาษโดยการัดกระดาษสีให้เป็นส่วนหัวเ่าทากาวแล้วนำมาิดจานกระดาษในส่วนที่ะทำเป็นหัวและนำไม้ไอศกรีมมาทำเป็นขาเ่าและนำานกระดาษอีกอันมาประกบกัน เสร็จแล้วตกแต่งให้สวยงามตามจินตนาการ
4. ให้เด็กเลือกทำกิจกรรมต่างๆ ที่กำหนดให้ ตามความสนใจ เมื่อทำเสร็จแล้ว นำผลงานมาส่งพร้อมบอก อธิบายผลงานให้ครูฟัง แล้วนำผลงานไปเก็บในที่เก็บผลงาน
5. ให้เด็กหมุนเวียนทำกิจกรรมต่างๆ จนครบทุกกิจกรรม
ขั้นสรุป
6. เด็กออกมานำเสนอผลงานที่ทำให้เพื่อนๆ ฟัง
7. ช่วยกันเก็บวัสดุ อุปกรณ์ในการทำกิจกรรมเข้าที่ให้เรียบร้อย
1. กระดาษเอ 4
2. สีเทียน
3. กระดาษทรายที่มีรูป่างๆ
4. กระดาษสี
5. กาว
6. สีน้ำ
7. จานกระดาษ
8. ไม้ไอศรีม
9. ผ้าคลุมโต๊ะ
1. การใช้กล้ามเนื้อมือและตา
2. การปฏิบัติกิจกรรม
3. ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
4. การอธิบายชื่อผลงาน อธิบายผลงาน
5. การเก็บของเข้าที่เมื่อเลิกใช้งาน
6. การประดิษฐ์เตาน้อยจากจานกระดาษ 
วิทยาสาสตร์


การสะท้อนตนเองหลังการสอน
..................................................................................................................................................





เมื่อนำเสนอเสร็จอาจารย์และเพื่อนๆก็ได้ให้คำแนะนำและข้อที่ควรแก้ไข ดังนี้

1. กิจกรรมหลัก 3 กิจกรรมที่ให้เด็กทำทุกวันควรที่จะให้เด็กทำเฉพาะกิจกรรมพื้นฐาน เช่น การวาดภาพด้วยสีเทียน สีช็อก สีน้ำ  การฉีกตัดปะกระดาษ การปั้น ควรเอาการฝนไปอยู่ในกิจกรรมพิเศษจะดีและเหมาะสมกว่า
2. วัตถุประสงค์กับการวัดและประเมินผลเด็กนั้นควรสอดคล้องกันทุกข้อ
3. วัตถุประสงค์ไม่ควรเอามาเยอะเอามาเฉพาะหลักๆก็พอ

4. การบูรณาการ สามารถบูรณาการเข้ากับ วิชา วิทยาศาสตร์ ได้เพราะสอนเด็กให้รู้เรื่องของการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกายเป็นของเหลว (วุ้น) นั้นเอง




การประเมินการเรียนการสอน
ตนเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีความพร้อมในการนำเสนอแผนเป็นอย่างมากออกไปนำเสนอก่อนเพื่อนเลย นำเสนอเสร็จตั้งใจฟังเพื่อนได้แค่แปบเดียวหลับในห้อง อิอิ
 เพื่อน  = เข้าเรียนตรงต่อเวลา แต่งกายสุภาเรียบร้อย มีความตั้งใจในการนำเสนอแผนการสอนกันทุกคน บางคนก็ช่วยอาจารย์แนะนำเพื่อนบางคนนำเสนอเสร็จก็ไม่ฟังเพื่อนก็มี
 อาจารย์ = อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อยให้คำแนะนำและให้ข้อเสนอแนะในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ ศิลปะสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัยกับนักศึกษาทุกคนเป็นอย่างดี


 การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้
- สามารถนำเอาข้อเสนอแนะจากอาจารย์และเพื่อนๆไปปรับปรุงแก้ไขในการเขียนแผนครั้งต่อไปได้
- สามารถนำเอาแผนการสอนของเพื่อนที่นำเสนอมานั้นไปปรับใช้ในอนาคตได้
- สามารถนำเอาแผนการสอนของตัวเองไปปรับใช้ในการสอนเด็กในอนาคตได้